วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท ชุดที่ ๓


\
พุทธภาษิต ๙๑๙ บท 

โดย

เทพ สุนทรศารทูล 

๙๑. 
ฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมไม่เศร้าโศกเสียใจ

๙๒
ความโกรธเข้าครอบงำทำให้เลิกทำความดี 

๙๓. 
คนขี้โกรธย่อมนอนเป็นทุกข์

๙๔.
คนขี้โกรธผิวพรรณไม่ผ่องใส

๙๕.
คนขี้โกรธทำประโยชน์ก็ไม่ได้คุณประโยชน์

๙๖.
บุรุษผู้มีความโกรธ สินทรัพย์ก็เสื่อม

๙๗.
ผู้มึนเมาด้วยความโกรธ ยศศักดิ์ก็เสื่อม

๙๘.
ญาติมิตรและเพื่อนฝูงย่อมตีตัวจากคนโกรธ

๙๙.
คนโกรธย่อมไม่รู้เหตุผล

๑๐๐.
คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรมะ

๑๐๑.
คนโกรธทำลายสิ่งใดที่ไม่น่าทำได้คล่องๆ 

๑๐๒.
ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว ก็เดือดร้อนเหมือนถูกไฟเผา

๑๐๓.
ผู้ถูกความโกรธครอบงำย่อมขาดที่ยึดเหนี่ยว

๑๐๔.
คนโกรธฆ่าได้แม้กระทั่งมารดาล


๑๐๕.
ผู้มีความโกรธขึ้นมาย่อมอัปราชัย

๑๐๖. 
ตัดความโกรธได้ขาดด้วยการข่มใจตนเอง

๑๐๗.
ตัดความโกรธให้ขาดด้วยปัญญา

๑๐๘.
อย่าให้ความโกรธออกนอกหน้า

๑๐๙.
ความอดกลั้นเป็นการบำเพ็ญเพียรอย่างสูง

๑๑๐.
ความอดกลั้นเหนี่ยวรั้งความหุนหันพลันแล่น

๑๑๑.
ความอดกลั้นทำให้เกิดประโยชน์และความสุข


๑๑๒.
ความอดกลั้นเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์

๑๑๓.
ความอดกลั้นเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสของผู้บำเพ็ญเพียร

๑๑๔.
ความอดกลั้นเป็นกำลังของนักบวช

๑๑๕.
ความอดกลั้นเป็นกำลังของนักบุญ

๑๑๖.
ผู้อดกลั้นเป็นที่ชุ่มชื่นใจชน





๑๑๗.
จิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติก็ไม่ต้องสงสัย

๑๑๘.
จิตเศร้าหมอง สุคติก็ไม่ต้องสงสัย

๑๑๙.
โลกนี้เป็นไปตามใจคน

๑๒๐.
บังคับจิตใจได้จึงจะดี

๑๒๑.
ฝึกจิตเชื่องแล้วก็เป็นสุข

๑๒๒.
ปกครองใจตนได้ก็เป็นสุข

๑๒๓.
ทำตามใจชอบจะลำบาก

๑๒๔.
ทำใจให้ซื่อตรงการงานก็ดี





๑๒๕.
พึงรู้เท่าทันในเรื่องของจิต

๑๒๖.
พึงระมัดระวังจิตเหมือนประคองบาตรที่เปี่ยมด้วยน้ำมัน

๑๒๗.
จงระวังรักษาจิตของตน 

๑๒๘.
นักปราชญ์ย่อมระวังรักษาจิตของตน


๑๒๙.
บาปเกิดจากจิตดวงใด พึงระงับจิตดวงนั้น

๑๓๐.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร

๑๓๑.
ธรรมทานชนะทานทั้งปวง

๑๓๒.
ธรรมรสชนะรสทั้งปวง

๑๓๓.
ธรรมปิติ ชนะความปิติทั้งปวง


๑๓๔.
สิ้นความทะยานอยาก ชนะทุกข์ทั้งปวง


๑๓๕.
ชัยชนะที่กลับแพ้ได้ ไม่ใช่ชัยชนะที่ดีจริง