๖๗๖.
ผู้มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีศีล กายวาจาสงบเรียบร้อย มีปัญญา ความหยั่งรู้เป็นพหูสูคร ผูัฉลาดจึงควรเดินร่วมรอยด้วย เพราะการสมาคมกับคนดีจึงจะเป็นผู้เจริญ
๖๗๗.
ไม่มีรักใดเท่ารักตน ไม่มีสว่างใดเท่าปัญญา
๖๗๘.
ผู้มีศ๊ลด่างพร้อยปะปนอยู่ในหมู่คณะใด ก็เหมือนเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมต้นไม้ การกระทำของผู้น้ัน ก็เหมือนทำร้ายผู้อื่นด้วย
๖๗๙.
ภิกษุท้ังหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติควบคุมใจ มีศีลบริสุทธิ์ มีความนึกคิดในทางดีงาม จงระวังรักษาจิตอยู่ทุกเมื่อ
๖๘๐.
จงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท คอยระวังรักษาจิตไว้
จงถอนตนขึ้นจากปลัก เหมือนกุญชรชักขาขึ้นจากหล่ม
๖๘๒.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท แลเห็นภัยในความประมาทกำจัดเครื่องผูกมัดน้อยใหญ่ให้หมดไป
เหมือนไฟไหม้เชื้อเพลิงมอดไปฉนั้น
๖๘๓.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท แลเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่เสื่อมจากผล ย่อมเป็นผู้สงบใกล้ชิดพระนิพพาน
๖๘๔.
ภิกษุมีธรรมเหล่านี้เป็นที่อาศัย คือเป็นผู้มีสติ เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้รู้จักประโยชน์ ละความถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราเสียแล้ว ย่อมละความเกิด ความแก่ ความทุกข์ ความโศกในโลกนี้ได้
๖๘๕.
ผู้มีปัญญาย่อมสอดส่อง ไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถูกน้ำคือกิเลสท่วม ด้วยความระมัดระวัง ด้วยความบังคับใจ ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความขวนขวาย
๖๘๖.
ผู้ขวนขวายในการงาน ผู้ไม่ประมาท ผู้รู้จักจังหวะเวลา
ควรอยู่ในวงราชการได้
ผู้มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีศีล กายวาจาสงบเรียบร้อย มีปัญญา ความหยั่งรู้เป็นพหูสูคร ผูัฉลาดจึงควรเดินร่วมรอยด้วย เพราะการสมาคมกับคนดีจึงจะเป็นผู้เจริญ
๖๗๗.
ไม่มีรักใดเท่ารักตน ไม่มีสว่างใดเท่าปัญญา
๖๗๘.
ผู้มีศ๊ลด่างพร้อยปะปนอยู่ในหมู่คณะใด ก็เหมือนเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมต้นไม้ การกระทำของผู้น้ัน ก็เหมือนทำร้ายผู้อื่นด้วย
๖๗๙.
ภิกษุท้ังหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติควบคุมใจ มีศีลบริสุทธิ์ มีความนึกคิดในทางดีงาม จงระวังรักษาจิตอยู่ทุกเมื่อ
๖๘๐.
จงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท คอยระวังรักษาจิตไว้
จงถอนตนขึ้นจากปลัก เหมือนกุญชรชักขาขึ้นจากหล่ม
๖๘๒.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท แลเห็นภัยในความประมาทกำจัดเครื่องผูกมัดน้อยใหญ่ให้หมดไป
เหมือนไฟไหม้เชื้อเพลิงมอดไปฉนั้น
๖๘๓.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท แลเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่เสื่อมจากผล ย่อมเป็นผู้สงบใกล้ชิดพระนิพพาน
๖๘๔.
ภิกษุมีธรรมเหล่านี้เป็นที่อาศัย คือเป็นผู้มีสติ เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้รู้จักประโยชน์ ละความถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราเสียแล้ว ย่อมละความเกิด ความแก่ ความทุกข์ ความโศกในโลกนี้ได้
๖๘๕.
ผู้มีปัญญาย่อมสอดส่อง ไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถูกน้ำคือกิเลสท่วม ด้วยความระมัดระวัง ด้วยความบังคับใจ ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความขวนขวาย
๖๘๖.
ผู้ขวนขวายในการงาน ผู้ไม่ประมาท ผู้รู้จักจังหวะเวลา
ควรอยู่ในวงราชการได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น