วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๒)



  ๕๘๖.
นักบวชใดเป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมกายอยู่เป็นนิตย์
นักบวชนั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่เกิด สถานที่ไม่มึความเศร้าโศก

๕๘๗.
บิดามารดาเลี้ยงมาด้วยความลำบาก  ไม่บำรุงบิดามารดา 
กลับประพฤติผิดต่อบิดามารดา ย่อมไปตกนรก

๕๘๘.
ภิกษุทั้งหลายเมื่อผู้ใดยึดถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของตนแล้ว จักไม่เกิดความหวาดหวั่นครั่นคร้ามใดใด

๕๘๙.
คนมืดคนโง่เขลาไม่รู้อะไร มักมีใจแข่งดี ย่อมเกิดมีความโกรธ
ความโกรธย่อมเผาผลาญเขาเอง

๕๙๐.
ผู้ฝึกฝนตนที่มีความเพียรย่อมกินและดื่มพอควร ไม่ทำบาปเพราะเห็นแก่กิน คนผู้น้ันชาวโลกเรียกว่า สมณะ 

๕๙๑.
ผู้ใดกำหนัดในกาม เพลิดเพลินในกาม มักมากในกาม ทำบาปในกาม ย่อมไปสู่ทุคติ

๕๙๒.
พระอรหันต์อยู่ที่ใด บ้านก็ดี ป่าก็ดี ที่ลุ่มก็ดี ที่ดอนก็ดี ที่นั้นย่อมเป็นที่น่าอยู่อาศัย

๕๙๓.
ผู้ใดมีเทวทูตเตือนใจแล้ว  ยังประมาทมัวเมาอยู่
ผู้นั้นย่อมเกิดเป็นอสูรกาย ต้องเศร้าโศกอยู่ชั่วกาลนาน

๕๙๔.
โจรผู้ร้ายถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า  ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วของตนฉันใด คนที่ทำชั่วตายไปแล้วย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วของตนฉันนั้น

๕๙๕.
ผู้ใดหยิ่งเพราะชาติกำเนิด เพราะวงศ์ตระกูล เพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมลืมตัวไว้ตัว เป็นหนทางของผู้ฉิบหาย



วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๑)



๕๘๑.
สมณะเป็นผู้สงบระงับจากบาปกรรมทั้งปวง

๕๘๒.
จงหลีกให้พ้นชั่ว เหมือนพ่อค้ามีทรัพย์มากเดินหลีกทางที่มีภัย และผู้รักชีวิตหลีกจากยาพิษฉนั้น

๕๘๓.
เมื่อเขาขอโทษ ผู้ใดยังขุ่นข้องอยู่  
ผูกโกรธไว้ไม่ยอมยกโทษให้ เรียกว่าผูกเวรไว้ 

๕๘๔.
ในหมู่มนุษย์ คนที่ข้ามไปถึงฝั่งพระนิพพานได้มีน้อย
นอกนั้นยังวิ่งเลาะอยู่ชายฝั่งข้างนี้

๕๘๕.
จงฝึกฝนตั้งจิตให้แน่วแน่ตั้งมั่นไว้  ด้วยการพิจารณาเห็นความไม่สวยงาม มีสติควบคุมกาย มีความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายให้มาก 




วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๐)

๕๗๑.
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย
มันทำลายส่วนที่ดีงามของคนพาลเสีย

๕๗๒.
ผู้มีปัญญาทราม ใจไม่แน่วแน่ ถึงมีอายุต้ังร้อยปี
ก็สู้ผู้มีปัญญามีใจแน่วแน่เป็นสมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียวไม่ได้

๕๗๓.
ผู้มีความประมาทแล้ว แม้จำคำภาษิตได้มาก
แต่ไม่เข้าใจใช้ภาษิตนั้นให้เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมไม่ได้รับผลเป็นธรรมดา เหมือนคนเลี้ยงโคนับโคให้เจ้าของฉนั้น

๕๗๔.
ผู้มีความประมาท ทอดทิ้งกิจที่ควรทำเสีย
ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ กิเลสตัณหาย่อมเกิดแก่ผู้นั้น

๕๗๕.
ผู้ใดแต่ก่อนเคยประมาท ภายหลังเป็นผู้ไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมเหมือนดวงจันทร์พ้นเมฆ ย่อมส่องแสงให้โลกสว่างได้

๕๗๖.
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้และโลกหน้า เรียกว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จีงเศร้าโศกและเดือดร้อน

๕๗๗.
หยดน้ำที่หยาดลงทีละหยด ย่อมเต็มตุ่มฉันใด คนโง่ที่ทำบาปทีละน้อยอยู่เป็นนิตย์ ย่อมเป็นคนบาปหนาฉันน้ัน

๕๗๘.
ผู้กล่าวเท็จ ล่วงธรรมะคือความสัตย์ ไม่ทำบาปอื่นอีกเป็นไม่มี

๕๗๙.
บาปที่ทำย่อมเกิดกรรมชั่ว บาปย่อมเผาลนคนโง่ เหมือนไฟสุมขอนฉันนั้น

๕๘๐.
ยาพิษเข้ามือที่ไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปที่ไม่เกิดแก่ผู้ไม่ทำบาปก็ฉันนั้น


วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชดที่ ๒๙)


๕๕๖.
ผู้ใดใฝ่หาสุขสำหรับตน ด้วยการก่อทุกข์ให้ผู้อื่น 
เรียกว่าติดข้องอยู่ในกองเวร ย่อมหนีไม่พ้นเวร

๕๕๗.
แม้ฐานะดีแต่เกียจคร้านก็ต้องล่มจม 
เหมือนเกาะท่อนไม้เล็กๆอยู่กลางทะเลก็ต้องจมลงฉันน้ัน

๕๕๘.
พระอาทิตย์ พระจันทร์ กาลเวลาและมหาสมุทรมกำลัง
สมณพราหมณ์ก็มีกำลัง  แต่กำลังของสตรีมีมากกว่านั้น

๕๕๙.
พระพุทธเจ้าย่อมบังเกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก 
คือบุรุษและสตรีผู้ทำตามคำสั่งสอน

๕๖๐.
ที่ใดคนยังไม่รู้จักชาติตระกูลระเบียบประเพณี
ก็ไม่ควรถือตัว ควรทำตัวเหมือนญาติ

๕๖๑.
ผู้ใดทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
จะไปได้รอดปลอดภัย เหมือนพ่อค้าขี่ม้าไ ปโดยสวัสดี

๕๖๒.
ผู้ใดนอบน้อมผู้เจริญด้วยคุณวุฒิ
มีปัญญาฉลาดในธรรม ย่อมมีผู้สรรเสริญในโลกนี้
และมีสุคติในโลกหน้า

๕๖๓.
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์รักใคร่ เป็นอามิสอันร้ายกาจของชาวโลก เป็นเหตุให้ชาวโลกลุ่มหลงอยู่

๕๖๔.
แม้มีปัญญารุ่งโรจน์เหมือนแสงไฟ  ถ้าอยู่ในต่างถิ่น ก็ควรอดทนต่อคำขู่เข็ญของคนถ่อย

๕๖๕.
บุรุษผู้สดับปัญญาน้อยย่อมเสื่อมทรามไป 
เหมือนโคถึกมีเนื้อมาก แต่ปัญญาหาเจริญไม่

๕๖๖.
ถึงไร้ทรัพย์ผู้มีปัญญาก็ยังดำรงชีพอยู่ได้
ถ้าไม่มีปัญญาถึงมีทรัพย์ก็ดำรงชีพอยุ่ได้ยาก

๕๖๗.
ผู้มีปัญญา มีความรู้ ฉลาดในการงาน รู้กาล รู้สมัย 
ควรอยู่ในวงราชการได้

๕๖๘.
ท่านว่าปัญญาประเสริฐเหมือนดวงจันทร์เด่นอยู่ในหมู่ดาว แม้ศีลธรรมและคุณงามความดี ก็เป็นเช่นดวงดาวดาราห้อมล้อมดวงปัญญาของคนดีฉันนั้น 

๕๖๙.
ถ้าเล็งเห็นความสุขอันไพศาล  เพราะการเสียสละสุขสถานประมาณ  ผู้มีปัญญาย่อมสละสุขสถานประมาณเสียเพื่อความสุขอันไพศาลน้ัน 

๕๗๐.
คนปัญญาทราม มียศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมกระทำการที่เบียดเบียนตนและคนอื่น 

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๒๘)


๕๔๑.
ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปัญญา ไม่เย่อหยิ่ง มีใจมั่นคง 
ผู้น้ันย่อมเจริญในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน

๕๔๒.
ผู้ถูกความกำหนัดเข้าย้อมใจ ความมืดก็เข้าห่มหุ้มใจ 
ย่อมไม่อาจมองเห็นธรรมอันละเอียดลึกซื้ง
และมีกระแสไหลทวนใจนั้นได้

๕๔๓.
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้รู้แจ้งบังเกิดขึ้นในโลก พระองค์ย่อมประกาศพระธรรมอันเป็นเครื่องดับทุกข์

๕๔๔.
ผู้ใดไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน
ผู้นั้นย่อมห่างไกลจากสัจธรรมเหมือนฟ้ากับดิน

๕๔๕.
ผู้ใดประพฤติปฎิบัติธรรมโดยเหมาะสมแล้ว  
อมมีบุญบารมีข้ามมฤตยูได้

๕๔๖.
ผู้ใดปรารถนาทิพย์สมบัติ มีทรัยพ์ อายุ ยศ และความสุข พึงงดเว้นจากความชั่วทั้งหลายเสีย ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

๕๔๗.
ผู้ใดฟังธรรมแต่เล็กน้อย เห็นแจ้งในธรรม  เรียกวา่ผู้ทรงธรรม 

๕๔๘.
เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย พิจารณาข้อธรรมน้ันจนเห็นแจ้งด้วยปัญญา จิตย่อมหลุดพ้นจากความยึดถือ
 เหมือนเปลวไฟที่ดับสนิท
๕๔๙.
ผู้ใดผูกใจเจ็บว่า เขาฆ่าเรา เขาทำลายเรา เขาลักขโมยเรา เวรของผู้นั้นย่อมไม่สิ้นสุด

๕๕๐.
เปลวไฟที่ถูกแรงลมพัดดับไป นับไม่ถ้วนฉันใด ผู้รู้แจ้งหลุดพ้นไปจากรูปนาม ก็นับไม่ถ้วนฉันนั้น

๕๕๑.
หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ของมนุษย์มีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษ 
ที่ไม่สำรวมระวังให้ดีก็มีโทษ ที่สำรวมระวังให้ดีก็มีคุณ

๕๕๒.
ผู้เป็นบัณฑิตเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน ย่อมไม่ปล่อยให้ความโลภเกิดขึ้น พึงระงับใจที่คิดละโมบนั้นเสีย

๕๕๓. 
โอกาสย่อมผ่านพ้นคนโง่ผู้รอฤกษ์ยามไปเสีย
เพราะประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ยามอยู่แล้ว 
ดวงดาวจะทำอะไรให้ได้

๕๕๔.
คนพาลใช้กำลังหาทรัพย์อย่างสาหัส แต่ผู้คุมนรกย่อมฉุดลากคนพาลผู้โง่เขลาครวญครางน้ันไปสู่นรกอันร้ายกาจ

๕๕๕.
กามคุณทั้ง ๕ มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และใจ เป็นที่ ๖ น้ัน 
เอาชนะความพอใจรักใคร่เสียได้แล้วย่อมพ้นทุกข์