วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๔๓)


๖๘๗
คนที่ทำบาป ไม่ควรชอบใจในการทำบาปน้ัน
เพราะการสั่งสมบาปทำให้เกิดทุกข์

๖๘๘.
เมื่อมีผู้ทำความดีทำประโยชน์ให้  ไม่รู้จักคุณ
ภายหลังเมื่อมีกิจการอีก ย่อมไม่มีผู้ช่วยเหลือ

๖๘๙.
สัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวโทษทัณฑ์ ย่อมหวาดหวั่นต่อความตาย
เอาตัวเราเข้าเทียบแล้ว ไม่ควรฆ่าหรือใช้ผู้อื่นฆ่าสัตว์อื่น

๖๙๐.
กามคุณไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน เป็นทุกข์หนัก มีพิษมาก
ดั่งช่างตีเหล็กที่ร้อน เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์

๖๙๑.
โลกนี้ถูกอวิชชาปิดบังไว้ เพราะความอยากนานชนิดเป็นเครื่องประเทืองฉาบทาไว้ จึงเกิดทุกข์ภัยอันใหญ๋หลวง 

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๔๒)


๖๗๖.
ผู้มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีศีล กายวาจาสงบเรียบร้อย มีปัญญา ความหยั่งรู้เป็นพหูสูคร  ผูัฉลาดจึงควรเดินร่วมรอยด้วย เพราะการสมาคมกับคนดีจึงจะเป็นผู้เจริญ 

๖๗๗.
ไม่มีรักใดเท่ารักตน ไม่มีสว่างใดเท่าปัญญา 

๖๗๘.
ผู้มีศ๊ลด่างพร้อยปะปนอยู่ในหมู่คณะใด ก็เหมือนเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมต้นไม้ การกระทำของผู้น้ัน ก็เหมือนทำร้ายผู้อื่นด้วย 

๖๗๙.
ภิกษุท้ังหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท  มีสติควบคุมใจ มีศีลบริสุทธิ์ มีความนึกคิดในทางดีงาม  จงระวังรักษาจิตอยู่ทุกเมื่อ 

๖๘๐.
จงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท คอยระวังรักษาจิตไว้
จงถอนตนขึ้นจากปลัก เหมือนกุญชรชักขาขึ้นจากหล่ม 

๖๘๒.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท แลเห็นภัยในความประมาทกำจัดเครื่องผูกมัดน้อยใหญ่ให้หมดไป 
เหมือนไฟไหม้เชื้อเพลิงมอดไปฉนั้น

๖๘๓.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท  แลเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่เสื่อมจากผล ย่อมเป็นผู้สงบใกล้ชิดพระนิพพาน

๖๘๔.
ภิกษุมีธรรมเหล่านี้เป็นที่อาศัย คือเป็นผู้มีสติ เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้รู้จักประโยชน์ ละความถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราเสียแล้ว ย่อมละความเกิด ความแก่ ความทุกข์ ความโศกในโลกนี้ได้

๖๘๕.
ผู้มีปัญญาย่อมสอดส่อง ไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถูกน้ำคือกิเลสท่วม ด้วยความระมัดระวัง ด้วยความบังคับใจ ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความขวนขวาย 

๖๘๖.
ผู้ขวนขวายในการงาน ผู้ไม่ประมาท ผู้รู้จักจังหวะเวลา 
ควรอยู่ในวงราชการได้ 


วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๔๑)


๖๖๖.
ศีลเป็นข้อปฎิบัติของโลก เมื่อชาวโลกปฎิบ้ติดีแล้ว
ย่อมได้รับส่ิ่งที่ดีดังที่ปฎิบัติ

๖๖๗.
ปรารถนาสุขท้ังสามสิ่ง คือได้รับสรรเสริญ ได้รับทรัพย์ ได้ไปสวรรค์  ผู้มีปัญญาก็จงรักษาศีล

๖๖๘.
ผู้มีศ๊ลย่อมมีมิตรมาก เพราะสำรวมกายวาจาใจไม่ให้แตกร้าว 
ผู้ไม่มีศีลย่อมแตกจากมิตร เพราะไม่สำรวมกายวาจาใจ

๖๖๙.
ควรคบแต่กัลยาณมิตรผู้มีปัญญา

๖๗๐.
ของหอมห่อด้วยใบไม้ ใบไม้ก็หอมฟุ้งไปด้วยฉันใด
คนที่คบหาสมาคมกับนักปราชญ์ ก็พลอยฉลาดไปด้วยฉันน้ัน

๖๗๑.
การคบหาสมาคมกับคนชั่ว ไม่ใช่แต่จะทำให้เกิดทุกข์อย่างเดียว ยังทำให้เกิดโทษอีกด้วย

๖๗๒.
คบหาแต่คนชั้นสูง ผู้มีปัญญา  ต้ังตนอยู่ในคำสอนของท่าน 
จะเป็นผู้มีความสุขสมปรารถนา

๖๗๓.
ปลาเน่าผูกด้วยหญ้าคา หญ้าคาก็พลอยเน่าเหม็นไปด้วยฉันใด
คนที่คบคนชั่วก็พลอยชั่วไปด้วยฉันน้ัน

๖๗๔.
คบหาผู้ใดเป็นเพื่อน ก็เหมือนคนน้ัน อยู่ร่วมกับคนอย่างไรก็เป็นคนอย่างน้ัน

๖๗๕.
ที่พึ่งหาได้ยาก แต่คนซึ่งฝึกฝนดีแล้ว ก็เป็นพี่พึ่งของตนได้ 
ใครจะเป็นที่พึ่งของเราได้เล่า



วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๔๐)

๖๕๕.
ผู้ใดพอใจใคร่เห็นท่านผู้มีศีล อยากได้ยินได้ฟังพระธรรม
พยายามละความตระหนี่ไม่ให้เกิดขึ้น 
ท่านเรียกว่าผู้มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย

๖๕๖.
ผู้มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีกาย วาจาสงบเรียบร้อย
จะไปสู่ประเทศไหนคนประเทศน้ันก็บูชา

๖๕๗.
ผู้ในเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ย่อมให้ข้าวปลาอาหารด้วยใจศรัทธา ผู้นั้นย่อมได้ข้าวปลาอาหารท้ังในโลกนี้และโลกหน้า

๖๕๘.
ศีลเป็นพื้นฐานขั้นต้น เป็นที่่ก่อเกิดของคณธรรมความดีท้ังหลาย เป็นหัวหน้าของคุณธรรมทั่วไป เพราะฉนั้นควรรักษาศีลให้บริสุทธิ์

๖๕๙.
ผู้มีศีลด่างพร้อย ย่อมมีผิวพรรณหม่นหมองไม่ผ่องใส ถูกคนติเตียน เสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผิวพรรณย่อมผ่องใส มีชื่อเสียงดีและมีผู้สรรเสริญ

๖๖๐.
รักษาศีลบริสุทธิ์สม่ำเสมอดีแล้ว ย่อมมีใจผ่องใส มีปรีชาฉลาดในเรื่องทั้งปวง ย่อมได้รับเกียรติในโลกนี้ ตายไปก็มีใจรื่นเริงอยู่ในสวรรค์

๖๖๑.
รักษาศีลไม่บริสุทธิ์สม่ำเสมอแล้ว  ย่อมมีใจมัวหมองและโง่เขลาในเรื่องท้ังปวง ย่อมได้รับการนินทา ตายไปก็มีใจเศร้าหมองอยู่ในอบาย

๖๖๒.
รักษากาย วาจา ใจให้สงบเรียบร้อย  ใจก็ไมคิดชั่ว ปากก็ไม่พูดพล่อย วิธีปฎิบัติเช่นนี้เรียกว่าผู้มีศีล

๖๖๓.
รักษาอุโบสถคือศีลแปด อุทิศให้ผู้ตายตลอดกาลเข้าพรรษา บุญนี้ทำให้อิ่มใจด้วยความสุข ตายไปก็ขึ้นสวรรค์  ฉนั้นหญิงชายจงรักษาศีล

๖๖๔.
เป็นผู้สดับมาก เป็นผู้มีศีลสม่ำเสมอ ย่อมได้รับการสรรเสริญสองสถาน  คือเป็นผู้มีศีลและเป็นพหูสูตร

๖๖๕.
ผู้มีศีลด่างพร้อย  มีอายุร้อยปีก็ป่วยการ  ผู้มีศีลหมดจดมีใจกำหนดพิจารณา  แม้มีชีวิตหนึ่งวันมีค่ากว่า



วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๙)


๖๔๖.
สรรเสริญคนที่ควรนินทา นินทาคนที่ควรสรรเสริญ 
เหมือนอมความช่ั่วร้ายไว้ในปาก 
ย่อมปราศจากสุขเพราะสิ่งที่อมไว้น้ัน

๖๔๗.
ถ้อยคำต้ังพันประโยคไม่เกิดประโยชน์ 
คำพูดประโยคเดียวดีกว่า ถ้าฟังแล้วเกิดความสงบระงับได้

๖๔๘.
ผู้มีปัญญาเฉลียดฉลาด อาจก่อร่างสร้างตัวได้ด้วยทุนทรัพย์น้อยๆ  เหมือนก่อไฟแต่น้อยลุกขึ้นเป็นกองไฟฉนั้น

๖๔๙.
ไม่ควรปล่อยวันเวลาให้ผ่านไป มากหรือน้อยก็ตาม
เพราะวันคืนล่วงไป 
โอกาสที่จะทำประโยชน์ให้ชีวิตย่อมผ่านไปด้วย

๖๕๐.
ขวนขวายในการงานเป็นผู้ไม่ประมาท 
ฉลาดในการจัดทำการงาน เลี้ยงชีพเหมาะสมกับฐานะ
ย่อมรักษาทรัพย์ที่หามาได้

๖๕๑.
เมื่อยังมีกำลังพากเพียรอยู่  ผู้มีปัญญาย่อมหลีกชั่วในโลกนี้เสีย
เหมือนคนมีตาหลีกทางที่ไม่สะดวกเสียฉันนั้น

๖๕๒.
คนต้ังใจดีมีความพากเพียร มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ยังดีกว่าคนเกียจคร้านมีความเพียรน้อย มีชีวิตอยู่ต้ังร้อยปี

๖๕๓.
ธรรมดาหญ้าย่อมไม่ประมาณความหนาวร้อนว่ามากฉันใด
คนทำงานไม่ประมาณว่าหนาวร้อนย่อมเป็นสุข 
การงานก็ไม่เสื่อม

๖๕๔.
คนคนเดียวทีเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีปัญญา มีศีล มีธรรม ย่อมเป็นประโยชน์แก่พวกพ้องพงศ์พันธุ์เป็นอันมาก 


วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๘)

๖๓๖.
นายโคบาลย่อมตีต้อนโคไปฉันใด 
ความแก่และความตายย่อมไล่ต้อนอายุแ๖๔๐.
ละชีวิตไปฉันนั้น

๖๓๗.
หม้อดินที่ช่างป้ันหม้อขึ้นแล้ว 
ย่อมแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด 
ชีวิตก็มีความตายเป็นที่่สุดฉันน้ัน

๖๓๘.
สายน้ำทีไหลล้นฝั่งย่อมพัดพาต้นไม้ชายตลิ่งไปฉันใด
ความแก่และความตายย่อมพัดพาชีวิตไปฉันน้้น

๖๓๙.
ควรกล่าวแต่คำดีเท่าน้้น ไม่ควรกล่าวคำชั่วเลย 

กล่าวคำดีเกิดผลดี กล่าวคำชั่วเกิดผลร้าย

๖๔๐.
การกล่าวคำที่ไม่ทำให้ตนเดือดร้อน ไม่ทำลายผู้อื่นด้วย จึงจะเป็นวาจา สุภาษิตคือคำพูดที่ดีมีคติควรฟังควรคิด

๖๔๑.
ไม่ควรพูดมากเกินไป ไม่ควรนิ่งเสียท้้งหมด
เมื่อถึงคราวพูดก็ควรพูดถ้อยคำที่ไม่ฝั่นเฝือ 
พอฟังได้เนื้อได้ความ

๖๔๒.
ควรกล่าวแต่ถ้อยคำไพเราะอ่อนหวานน่าฟังเท่านั้น เพราะผู้ฟังย่อมไม่ชอบคำพูดหยาบคาย 
ชอบแต่คำพูดไพเราะอ่อนหวานทุกคน

๖๔๓.
คนพาลพูดคำหยาบคายย่อมทำลายตัวเอง เหมือนขวานอันเกิดอยู่ทีปากของผู้นั้น ย่อมฟันตัวของเขาเอง

๖๔๔.
ทำแล้วจึงพูด ไม่ทำก็ไม่ควรพูด
บัณฑิตย่อมรู้ว่าคนที่ไม่ทำอะไรก็ดีแต่พูดเท่านั้น

๖๔๕.
ผู้ใดเป็นพยานเบิกความเท็จ  เพราะเห็นแก่ตนก็ดี เพราะเห็นแก่ผู้อื่นก็ดี เพราะเห็นแก่ทรัพย์ก็ดี  พึงรู้ว่าผู้น้ันเป็นคนเลวทราม




วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๖)


๖๒๖.
ผู้ใดยืมทรัพย์เขามาใช้ แล้วกลับเสียสัตย์ แก้ตัวว่าเราไม่ได้ยืมท่าน  พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิดศีล

๖๒๗.
เป็นคนฉลาดเป็นคนอาจหาญ เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก เป็นผู้ทรงคุณธรรม และเป็นผู้ประพฤติธรรม  ผู้นั้นเรียกว่าเป็นผู้ทำหมู่คณะให้งดงาม

๖๒๘.
กำจัดความกำหนัด ความโกรธ ความหลงได้ ทำลายเครื่องผูกมัดได้แล้ว  ย่อมไม่หวาดหวั่นว่าชีวิตจะแตกดับ 

๖๒๙.
เป็นผู้สำรวมอินทรีย์ เป็นผู้สงบ และยินดีในทางสงบแล้ว  ย่อมดำรงตนไว้ได้ดีตลอดไป ไม่พ่ายแพ้แก่หมู่มาร

๖๓๐.
ถ้ากลัวทุกข์ ถ้าเกลียดทุกข์ ก็อย่าทำบาปทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง

๖๓๑.
มองหาดูทั่้วทิศแล้ว ไม่เห็นใครเป็นที่รักยิ่งกว่าเราเลย  คนอื่นก็รักตัวของเขามากเช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น 

๖๓๒.
ไม่ควรหมิ่นลาภของตน  ไม่ควรอยากได้ลาภของผู้อื่น  ภิกษุอยากได้ลาภของผู้อื่น ย่อมทำสมาธิไม่เกิดผล

๖๓๓.
ไม่หลงระเริงไป ไม่เอาใจตนเป็นใหญ่ มีปฎิภาณว่องไว ย่อมไม่เป็นคนเชื่อง่ายเบื่อง่าย

๖๒๔.
ผู้หลงบริโภคกาม ย่อมติดใจหลงใหลในกาม ย่อมถลำตัวเองเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เหมือนปลาตาดีที่เข้าลอดโพงพาง 

๖๒๕.
บุรษผู้ตื่นจากหลับ  ย่อมมองไม่เห็นอารมณ์ที่ล่องลอยไปในฝันฉันใด คนอยู่ย่อมมองไม่เห็นคนรักที่ตายไปแล้วฉันน้้น