วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๔๒)


๖๗๖.
ผู้มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีศีล กายวาจาสงบเรียบร้อย มีปัญญา ความหยั่งรู้เป็นพหูสูคร  ผูัฉลาดจึงควรเดินร่วมรอยด้วย เพราะการสมาคมกับคนดีจึงจะเป็นผู้เจริญ 

๖๗๗.
ไม่มีรักใดเท่ารักตน ไม่มีสว่างใดเท่าปัญญา 

๖๗๘.
ผู้มีศ๊ลด่างพร้อยปะปนอยู่ในหมู่คณะใด ก็เหมือนเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมต้นไม้ การกระทำของผู้น้ัน ก็เหมือนทำร้ายผู้อื่นด้วย 

๖๗๙.
ภิกษุท้ังหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท  มีสติควบคุมใจ มีศีลบริสุทธิ์ มีความนึกคิดในทางดีงาม  จงระวังรักษาจิตอยู่ทุกเมื่อ 

๖๘๐.
จงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท คอยระวังรักษาจิตไว้
จงถอนตนขึ้นจากปลัก เหมือนกุญชรชักขาขึ้นจากหล่ม 

๖๘๒.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท แลเห็นภัยในความประมาทกำจัดเครื่องผูกมัดน้อยใหญ่ให้หมดไป 
เหมือนไฟไหม้เชื้อเพลิงมอดไปฉนั้น

๖๘๓.
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท  แลเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่เสื่อมจากผล ย่อมเป็นผู้สงบใกล้ชิดพระนิพพาน

๖๘๔.
ภิกษุมีธรรมเหล่านี้เป็นที่อาศัย คือเป็นผู้มีสติ เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้รู้จักประโยชน์ ละความถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราเสียแล้ว ย่อมละความเกิด ความแก่ ความทุกข์ ความโศกในโลกนี้ได้

๖๘๕.
ผู้มีปัญญาย่อมสอดส่อง ไม่ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ถูกน้ำคือกิเลสท่วม ด้วยความระมัดระวัง ด้วยความบังคับใจ ด้วยความไม่ประมาท และด้วยความขวนขวาย 

๖๘๖.
ผู้ขวนขวายในการงาน ผู้ไม่ประมาท ผู้รู้จักจังหวะเวลา 
ควรอยู่ในวงราชการได้ 


วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๔๑)


๖๖๖.
ศีลเป็นข้อปฎิบัติของโลก เมื่อชาวโลกปฎิบ้ติดีแล้ว
ย่อมได้รับส่ิ่งที่ดีดังที่ปฎิบัติ

๖๖๗.
ปรารถนาสุขท้ังสามสิ่ง คือได้รับสรรเสริญ ได้รับทรัพย์ ได้ไปสวรรค์  ผู้มีปัญญาก็จงรักษาศีล

๖๖๘.
ผู้มีศ๊ลย่อมมีมิตรมาก เพราะสำรวมกายวาจาใจไม่ให้แตกร้าว 
ผู้ไม่มีศีลย่อมแตกจากมิตร เพราะไม่สำรวมกายวาจาใจ

๖๖๙.
ควรคบแต่กัลยาณมิตรผู้มีปัญญา

๖๗๐.
ของหอมห่อด้วยใบไม้ ใบไม้ก็หอมฟุ้งไปด้วยฉันใด
คนที่คบหาสมาคมกับนักปราชญ์ ก็พลอยฉลาดไปด้วยฉันน้ัน

๖๗๑.
การคบหาสมาคมกับคนชั่ว ไม่ใช่แต่จะทำให้เกิดทุกข์อย่างเดียว ยังทำให้เกิดโทษอีกด้วย

๖๗๒.
คบหาแต่คนชั้นสูง ผู้มีปัญญา  ต้ังตนอยู่ในคำสอนของท่าน 
จะเป็นผู้มีความสุขสมปรารถนา

๖๗๓.
ปลาเน่าผูกด้วยหญ้าคา หญ้าคาก็พลอยเน่าเหม็นไปด้วยฉันใด
คนที่คบคนชั่วก็พลอยชั่วไปด้วยฉันน้ัน

๖๗๔.
คบหาผู้ใดเป็นเพื่อน ก็เหมือนคนน้ัน อยู่ร่วมกับคนอย่างไรก็เป็นคนอย่างน้ัน

๖๗๕.
ที่พึ่งหาได้ยาก แต่คนซึ่งฝึกฝนดีแล้ว ก็เป็นพี่พึ่งของตนได้ 
ใครจะเป็นที่พึ่งของเราได้เล่า



วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๔๐)

๖๕๕.
ผู้ใดพอใจใคร่เห็นท่านผู้มีศีล อยากได้ยินได้ฟังพระธรรม
พยายามละความตระหนี่ไม่ให้เกิดขึ้น 
ท่านเรียกว่าผู้มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย

๖๕๖.
ผู้มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีกาย วาจาสงบเรียบร้อย
จะไปสู่ประเทศไหนคนประเทศน้ันก็บูชา

๖๕๗.
ผู้ในเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ย่อมให้ข้าวปลาอาหารด้วยใจศรัทธา ผู้นั้นย่อมได้ข้าวปลาอาหารท้ังในโลกนี้และโลกหน้า

๖๕๘.
ศีลเป็นพื้นฐานขั้นต้น เป็นที่่ก่อเกิดของคณธรรมความดีท้ังหลาย เป็นหัวหน้าของคุณธรรมทั่วไป เพราะฉนั้นควรรักษาศีลให้บริสุทธิ์

๖๕๙.
ผู้มีศีลด่างพร้อย ย่อมมีผิวพรรณหม่นหมองไม่ผ่องใส ถูกคนติเตียน เสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผิวพรรณย่อมผ่องใส มีชื่อเสียงดีและมีผู้สรรเสริญ

๖๖๐.
รักษาศีลบริสุทธิ์สม่ำเสมอดีแล้ว ย่อมมีใจผ่องใส มีปรีชาฉลาดในเรื่องทั้งปวง ย่อมได้รับเกียรติในโลกนี้ ตายไปก็มีใจรื่นเริงอยู่ในสวรรค์

๖๖๑.
รักษาศีลไม่บริสุทธิ์สม่ำเสมอแล้ว  ย่อมมีใจมัวหมองและโง่เขลาในเรื่องท้ังปวง ย่อมได้รับการนินทา ตายไปก็มีใจเศร้าหมองอยู่ในอบาย

๖๖๒.
รักษากาย วาจา ใจให้สงบเรียบร้อย  ใจก็ไมคิดชั่ว ปากก็ไม่พูดพล่อย วิธีปฎิบัติเช่นนี้เรียกว่าผู้มีศีล

๖๖๓.
รักษาอุโบสถคือศีลแปด อุทิศให้ผู้ตายตลอดกาลเข้าพรรษา บุญนี้ทำให้อิ่มใจด้วยความสุข ตายไปก็ขึ้นสวรรค์  ฉนั้นหญิงชายจงรักษาศีล

๖๖๔.
เป็นผู้สดับมาก เป็นผู้มีศีลสม่ำเสมอ ย่อมได้รับการสรรเสริญสองสถาน  คือเป็นผู้มีศีลและเป็นพหูสูตร

๖๖๕.
ผู้มีศีลด่างพร้อย  มีอายุร้อยปีก็ป่วยการ  ผู้มีศีลหมดจดมีใจกำหนดพิจารณา  แม้มีชีวิตหนึ่งวันมีค่ากว่า



วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๙)


๖๔๖.
สรรเสริญคนที่ควรนินทา นินทาคนที่ควรสรรเสริญ 
เหมือนอมความช่ั่วร้ายไว้ในปาก 
ย่อมปราศจากสุขเพราะสิ่งที่อมไว้น้ัน

๖๔๗.
ถ้อยคำต้ังพันประโยคไม่เกิดประโยชน์ 
คำพูดประโยคเดียวดีกว่า ถ้าฟังแล้วเกิดความสงบระงับได้

๖๔๘.
ผู้มีปัญญาเฉลียดฉลาด อาจก่อร่างสร้างตัวได้ด้วยทุนทรัพย์น้อยๆ  เหมือนก่อไฟแต่น้อยลุกขึ้นเป็นกองไฟฉนั้น

๖๔๙.
ไม่ควรปล่อยวันเวลาให้ผ่านไป มากหรือน้อยก็ตาม
เพราะวันคืนล่วงไป 
โอกาสที่จะทำประโยชน์ให้ชีวิตย่อมผ่านไปด้วย

๖๕๐.
ขวนขวายในการงานเป็นผู้ไม่ประมาท 
ฉลาดในการจัดทำการงาน เลี้ยงชีพเหมาะสมกับฐานะ
ย่อมรักษาทรัพย์ที่หามาได้

๖๕๑.
เมื่อยังมีกำลังพากเพียรอยู่  ผู้มีปัญญาย่อมหลีกชั่วในโลกนี้เสีย
เหมือนคนมีตาหลีกทางที่ไม่สะดวกเสียฉันนั้น

๖๕๒.
คนต้ังใจดีมีความพากเพียร มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว
ยังดีกว่าคนเกียจคร้านมีความเพียรน้อย มีชีวิตอยู่ต้ังร้อยปี

๖๕๓.
ธรรมดาหญ้าย่อมไม่ประมาณความหนาวร้อนว่ามากฉันใด
คนทำงานไม่ประมาณว่าหนาวร้อนย่อมเป็นสุข 
การงานก็ไม่เสื่อม

๖๕๔.
คนคนเดียวทีเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีปัญญา มีศีล มีธรรม ย่อมเป็นประโยชน์แก่พวกพ้องพงศ์พันธุ์เป็นอันมาก 


วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๘)

๖๓๖.
นายโคบาลย่อมตีต้อนโคไปฉันใด 
ความแก่และความตายย่อมไล่ต้อนอายุแ๖๔๐.
ละชีวิตไปฉันนั้น

๖๓๗.
หม้อดินที่ช่างป้ันหม้อขึ้นแล้ว 
ย่อมแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด 
ชีวิตก็มีความตายเป็นที่่สุดฉันน้ัน

๖๓๘.
สายน้ำทีไหลล้นฝั่งย่อมพัดพาต้นไม้ชายตลิ่งไปฉันใด
ความแก่และความตายย่อมพัดพาชีวิตไปฉันน้้น

๖๓๙.
ควรกล่าวแต่คำดีเท่าน้้น ไม่ควรกล่าวคำชั่วเลย 

กล่าวคำดีเกิดผลดี กล่าวคำชั่วเกิดผลร้าย

๖๔๐.
การกล่าวคำที่ไม่ทำให้ตนเดือดร้อน ไม่ทำลายผู้อื่นด้วย จึงจะเป็นวาจา สุภาษิตคือคำพูดที่ดีมีคติควรฟังควรคิด

๖๔๑.
ไม่ควรพูดมากเกินไป ไม่ควรนิ่งเสียท้้งหมด
เมื่อถึงคราวพูดก็ควรพูดถ้อยคำที่ไม่ฝั่นเฝือ 
พอฟังได้เนื้อได้ความ

๖๔๒.
ควรกล่าวแต่ถ้อยคำไพเราะอ่อนหวานน่าฟังเท่านั้น เพราะผู้ฟังย่อมไม่ชอบคำพูดหยาบคาย 
ชอบแต่คำพูดไพเราะอ่อนหวานทุกคน

๖๔๓.
คนพาลพูดคำหยาบคายย่อมทำลายตัวเอง เหมือนขวานอันเกิดอยู่ทีปากของผู้นั้น ย่อมฟันตัวของเขาเอง

๖๔๔.
ทำแล้วจึงพูด ไม่ทำก็ไม่ควรพูด
บัณฑิตย่อมรู้ว่าคนที่ไม่ทำอะไรก็ดีแต่พูดเท่านั้น

๖๔๕.
ผู้ใดเป็นพยานเบิกความเท็จ  เพราะเห็นแก่ตนก็ดี เพราะเห็นแก่ผู้อื่นก็ดี เพราะเห็นแก่ทรัพย์ก็ดี  พึงรู้ว่าผู้น้ันเป็นคนเลวทราม




วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๖)


๖๒๖.
ผู้ใดยืมทรัพย์เขามาใช้ แล้วกลับเสียสัตย์ แก้ตัวว่าเราไม่ได้ยืมท่าน  พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิดศีล

๖๒๗.
เป็นคนฉลาดเป็นคนอาจหาญ เป็นคนได้ยินได้ฟังมาก เป็นผู้ทรงคุณธรรม และเป็นผู้ประพฤติธรรม  ผู้นั้นเรียกว่าเป็นผู้ทำหมู่คณะให้งดงาม

๖๒๘.
กำจัดความกำหนัด ความโกรธ ความหลงได้ ทำลายเครื่องผูกมัดได้แล้ว  ย่อมไม่หวาดหวั่นว่าชีวิตจะแตกดับ 

๖๒๙.
เป็นผู้สำรวมอินทรีย์ เป็นผู้สงบ และยินดีในทางสงบแล้ว  ย่อมดำรงตนไว้ได้ดีตลอดไป ไม่พ่ายแพ้แก่หมู่มาร

๖๓๐.
ถ้ากลัวทุกข์ ถ้าเกลียดทุกข์ ก็อย่าทำบาปทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง

๖๓๑.
มองหาดูทั่้วทิศแล้ว ไม่เห็นใครเป็นที่รักยิ่งกว่าเราเลย  คนอื่นก็รักตัวของเขามากเช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น 

๖๓๒.
ไม่ควรหมิ่นลาภของตน  ไม่ควรอยากได้ลาภของผู้อื่น  ภิกษุอยากได้ลาภของผู้อื่น ย่อมทำสมาธิไม่เกิดผล

๖๓๓.
ไม่หลงระเริงไป ไม่เอาใจตนเป็นใหญ่ มีปฎิภาณว่องไว ย่อมไม่เป็นคนเชื่อง่ายเบื่อง่าย

๖๒๔.
ผู้หลงบริโภคกาม ย่อมติดใจหลงใหลในกาม ย่อมถลำตัวเองเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เหมือนปลาตาดีที่เข้าลอดโพงพาง 

๖๒๕.
บุรษผู้ตื่นจากหลับ  ย่อมมองไม่เห็นอารมณ์ที่ล่องลอยไปในฝันฉันใด คนอยู่ย่อมมองไม่เห็นคนรักที่ตายไปแล้วฉันน้้น 



วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๕)


๖๑๖.
ฉลาดในการรักษาแบบโบราณ ประพฤติตามจารึตประเพณีย่อมไม่ตกไปสู่ที่ชั่ว  

๖๑๗.
ไม่ทำตามคำสั่งสอนที่ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้  ก็เปรียบเหมือนพ่อค้าขี่ม้าพยศ จะไปโดยราบเรียบอย่างไร

๖๑๘.
ผู้ใดยกตนข่มท่าน วางโต ใจกระด้าง 
พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลวทราม

๖๑๙.
ผู้ใดรู้สำนึกว่าตนมีศีล มีปัญญา มีความรู้ 
ผู้นั้นย่อมประพฤติตนเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย

๖๒๐.
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกขณะจิต มีเมตตาจิตไม่จำกัดขอบเขต 
ผู้นั้นย่อมเห็นแจ้งในเครื่องผูกมัดตนไว้ในโลกนี้ 
ผู้นั้นย่อมแก้เครื่องผูกมัดตนออกได้ 

๖๒๑.
รีบร้อนในเวลาที่ควรช้าๆ  ชักช้าในเวลาที่ควรเร่งรีบ เป็นคนโง่
ย่อมเป็นทุกข์ เพราะไม่ฉลาดในการกระทำนั้น

๖๒๒
ช้าในเวลาที่ควรช้า  ด่วนในเวลาที่ควรด่วน  เป็นคนฉลาด ย่อมเป็นสุขเพราะฉลาดในการกระทำน้ัน

๖๒๓.
ไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า  ไม่ชนะเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นชนะ เป็นผู้เมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง ย่อมไม่มีเวรมีภัยกับผู้ใด

๖๒๔.
ทำบุญให้บิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว  
ย่อมได้รับการสรรเสริญในโลกนี้  แม้ตายไปก็เป็นสุขในสวรรค์

๖๒๕.
เป็นคนฉลาดรู้จักคุณคน ตอบแทนคุณคน คบเพื่อนที่ดี ช่วยทำกิจแก่ผู้ตกทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ดี 

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๗)

๖๒๖.
ผู้ไม่รู้จักพอในภรรยาของตน ย่อมเดินทางไปสู่ความฉิบหาย 

๖๒๗.
ผู้ทำบุญแล้วย่อมรื่นเริงในโลกท้ังสอง รื่นเริงในโลกนี้และโลกหน้า ละโลกนี้ไปแล้วก็รื่นเริงว่าเราได้ทำบุญไว้แล้ว  

๖๒๘.
คนที่ทำบุญควรทำบุญบ่อยๆ ควรพอใจในการทำบุญน้ัน เพราะผู้สั่งสมบุญย่อมมีความสุข

๖๒๙.
ไม่ควรดูหมิ่นบุญที่ทำน้อย  ว่าจักไม่ได้บุญมาก แม้หยดน้ำทีละหยดยังเต็มตุ่มได้ฉันใด ผู้รู้สั่งสมบุญมากย่อมได้บุญฉันน้ัน

๖๓๐.
วันคืนล่วงไป ชีวิตย่อมล่วงไป อายุย่อมสุดสิ้นไป ดุจน้ำในลำธารย่อมเหือดแห้งไปฉันน้ัน 

๖๓๑.
อายุของมนุษย์นี้สั้นนัก พึงปลงใจเสีย
ทำตนดั่งคนเดินอยู่กลางแดดร้อนจัดในยามเที่ยงวัน 
อันความตายจะไม่มาถึงตนน้ันไม่มี

๖๓๒.
ทั้่งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งไพร่ผู้ดี ล้วนเดินทางไปสู่ความตาย
ทุกคนมีความตายรออยู่ข้างหน้า

๖๓๓.
เพื่อนฝูงเป็นมิตรของคนที่มีเรื่องเกิดขึ้นบ่อยๆ
แต่บุญที่ทำไว้น้ันย่อมเป็นมิตรในโลกหน้า

๖๓๔.
อยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร
 เข้าไปในถ้าก็หนึไม่พ้นความตาย
สถานที่ดินแดนที่ความตายไปไม่ถึงไม่มีเลย

๖๓๕.
ผู้ที่ยังหลงเด็ดดอกไม้ มีใจลุ่มหลงอยู่ ไม่รู้จักอิ่มในกาม
ความตายก็คืบคลานเข้ามาครอบงำโดยไม่รู้ตัว

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๔)



๖๐๖.
จงละนิวรณ์ กำจัดอุปกิเลสทั้ง ๑๖
ตัดรัก ตัดชังเสียให้ขาด แล้วเที่ยวไปเด็ดเดี่ยวแต่ผู้เดียว

๖๐๗.
คนโง่คิดว่ามีบุตรมีทรัพย์จึงเดือดร้อน
 ที่แท้ตัวของเราก็ไม่มีบุตร  ทรัพย์ของเราจะมีที่ไหนเล่า

๖๐๘.
บิดามารดาท่านว่าเป็นพระพรหมเป็นครูอาจารย์คนแรก
เป็นผู้ควรบูชาของบุตร 
และเป็นผู้ส่งเสริมช่วยเหลือการกระทำของบุตร

๖๐๙.
บาปยังไม่ให้ผล คนโง่ก็คิดว่ามีรสหวาน บาปให้ผลเมื่อใดคนโง่ก็ระทมทุกข์เมื่อน้ัน

๖๑๐.
คนไม่มีโชคมีฝีมือการทำงานหรือไม่ก็ตาม ย่อมรวบรวมทรัพย์ไว้ได้มาก ส่วนคนมีโชคย่อมบริโภคทรัพย์เหล่าน้ัน

๖๑๑.
ผู้ใดไม่คิดร้ายต่อมิตร จะไปยังบ้านนอก หัวเมืองในกรุงก็ตาม
ย่อมมีคนบูชาทั้วไป

๖๑๒.
ผู้มีใจฝักใฝ่ทางชั่ว ผู้ไม่ละอายต่อบาป ผู้ไม่ห่วงใยในความดี 
เขาย่อมประสบแต่ความชั่วช้า เขาย่อมตกไปสู่ความฉิบหาย

๖๑๓.
รู้ธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงจากใครที่ไหน
พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์ผู้บูชาไฟ

๖๑๔.
ผู้ใดทำชั่วแล้ว เลิกละความชั่วมาทำความดี 
ผู้นั้นเหมือนพระจันทร์ผ่านก้อนเมฆมาส่องโลกให้สว่าง 

๖๑๕.
น่ังนอนอาศัยร่มเงาต้นไม้ใด  ไม่ควรริดรานกิ่งก้านต้นไม้น้ัน 
เพราะผู้ทำลายมิตรเป็นคนเลวทรามต่ำช้า



วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๓)


๕๙๖.
เราเรียกผู้ตัดอาลัยในกามว่าผู้สำรวม เขาไม่มีเครื่องเศร้าหมองรัดรึงตรึงตราไว้  ย่อมข้ามพ้นความเดือดพล่านแห่งตัณหาไปได้

๕๙๗.
แม้มีฤทธิ์เดช มีปัญญาเฉียบแหลม มีคนเป็นอันมายกย่องบูชา
หากอยู่ในอำนาจของสตรีย่อมไม่รุ่งโรจน์เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบดบังไว้ฉนั้น

๕๙๘.
คนดีย่อมปรากฎไปไกลเหมือนภูเขาหิมาลัย  คนชั่วอยู่ที่ไหนก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรยิงไปในกลางคืนฉนั้น

๕๙๙.
คนฉลาดมีโภคทรัพย์มากแล้ว ย่อมสงเคราะห์วงศ์ญาติ 
เขาย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง  
เมื่อตายไปแล้วย่อมบรรเทิงอยู่ในสวรรค์ 

๖๐๐.
บัณฑิตย่อมไม่กระทำบาปเพื่อความสุขของตน  
คนดีแม้ได้รับทุกข์เพราะผิดพลาดไป 
ก็ย่อมไม่ละทิ้งคุณธรรมด้วยความรักหรือความโกรธ 

๖๐๑.
การทำอะไรโดยขาดความฉลาด 
ไม่รู้เท่าถึงการณ์ก็ไม่เกิดประโยชน์
คนปัญญาทรามย่อมทำลายผลประโยชน์เหมือนลิงเฝ้าสวน

๖๐๒.
บัณฑิตจะเป็นบุรุษไปหมดก็หาไม่ 
สตรีมีปัญญาเฉียบแหลมก็เป็นบัณฑิตได้เหมือนกัน 

๖๐๓.
ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวในคำนินทา ไม่ฮึกเหิมในคำสรรเสริญ ควรเบาบางในความโลภ ความตระหนี่ ความโกรธ และการส่อเสียด

๖๐๔.
บัณฑิตย่อมมองเห็นเหตุและไม่ใช่เหตุได้แจ่มแจ้ง  มองเห็นผลได้แจ่มชัด ย่อมเปลื้องตนออกได้โดยฉับพลันโดยไม่ต้องกลัวผลร้ายที่จะติดตามมาภายหลัง 

๖๐๕.
ผู้ใดตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์เป็นคนโสด เขาเรียกกันว่า บัณฑิต ส่วนผู้ใดฝักใฝ่ในการมีคู่สมรสย่อมมืดมนเศร้าหมอง 

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๒)



  ๕๘๖.
นักบวชใดเป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมกายอยู่เป็นนิตย์
นักบวชนั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่เกิด สถานที่ไม่มึความเศร้าโศก

๕๘๗.
บิดามารดาเลี้ยงมาด้วยความลำบาก  ไม่บำรุงบิดามารดา 
กลับประพฤติผิดต่อบิดามารดา ย่อมไปตกนรก

๕๘๘.
ภิกษุทั้งหลายเมื่อผู้ใดยึดถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของตนแล้ว จักไม่เกิดความหวาดหวั่นครั่นคร้ามใดใด

๕๘๙.
คนมืดคนโง่เขลาไม่รู้อะไร มักมีใจแข่งดี ย่อมเกิดมีความโกรธ
ความโกรธย่อมเผาผลาญเขาเอง

๕๙๐.
ผู้ฝึกฝนตนที่มีความเพียรย่อมกินและดื่มพอควร ไม่ทำบาปเพราะเห็นแก่กิน คนผู้น้ันชาวโลกเรียกว่า สมณะ 

๕๙๑.
ผู้ใดกำหนัดในกาม เพลิดเพลินในกาม มักมากในกาม ทำบาปในกาม ย่อมไปสู่ทุคติ

๕๙๒.
พระอรหันต์อยู่ที่ใด บ้านก็ดี ป่าก็ดี ที่ลุ่มก็ดี ที่ดอนก็ดี ที่นั้นย่อมเป็นที่น่าอยู่อาศัย

๕๙๓.
ผู้ใดมีเทวทูตเตือนใจแล้ว  ยังประมาทมัวเมาอยู่
ผู้นั้นย่อมเกิดเป็นอสูรกาย ต้องเศร้าโศกอยู่ชั่วกาลนาน

๕๙๔.
โจรผู้ร้ายถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า  ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วของตนฉันใด คนที่ทำชั่วตายไปแล้วย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วของตนฉันนั้น

๕๙๕.
ผู้ใดหยิ่งเพราะชาติกำเนิด เพราะวงศ์ตระกูล เพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมลืมตัวไว้ตัว เป็นหนทางของผู้ฉิบหาย



วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๑)



๕๘๑.
สมณะเป็นผู้สงบระงับจากบาปกรรมทั้งปวง

๕๘๒.
จงหลีกให้พ้นชั่ว เหมือนพ่อค้ามีทรัพย์มากเดินหลีกทางที่มีภัย และผู้รักชีวิตหลีกจากยาพิษฉนั้น

๕๘๓.
เมื่อเขาขอโทษ ผู้ใดยังขุ่นข้องอยู่  
ผูกโกรธไว้ไม่ยอมยกโทษให้ เรียกว่าผูกเวรไว้ 

๕๘๔.
ในหมู่มนุษย์ คนที่ข้ามไปถึงฝั่งพระนิพพานได้มีน้อย
นอกนั้นยังวิ่งเลาะอยู่ชายฝั่งข้างนี้

๕๘๕.
จงฝึกฝนตั้งจิตให้แน่วแน่ตั้งมั่นไว้  ด้วยการพิจารณาเห็นความไม่สวยงาม มีสติควบคุมกาย มีความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายให้มาก 




วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชุดที่ ๓๐)

๕๗๑.
ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย
มันทำลายส่วนที่ดีงามของคนพาลเสีย

๕๗๒.
ผู้มีปัญญาทราม ใจไม่แน่วแน่ ถึงมีอายุต้ังร้อยปี
ก็สู้ผู้มีปัญญามีใจแน่วแน่เป็นสมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียวไม่ได้

๕๗๓.
ผู้มีความประมาทแล้ว แม้จำคำภาษิตได้มาก
แต่ไม่เข้าใจใช้ภาษิตนั้นให้เป็นประโยชน์แก่ตน
ย่อมไม่ได้รับผลเป็นธรรมดา เหมือนคนเลี้ยงโคนับโคให้เจ้าของฉนั้น

๕๗๔.
ผู้มีความประมาท ทอดทิ้งกิจที่ควรทำเสีย
ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ กิเลสตัณหาย่อมเกิดแก่ผู้นั้น

๕๗๕.
ผู้ใดแต่ก่อนเคยประมาท ภายหลังเป็นผู้ไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมเหมือนดวงจันทร์พ้นเมฆ ย่อมส่องแสงให้โลกสว่างได้

๕๗๖.
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้และโลกหน้า เรียกว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จีงเศร้าโศกและเดือดร้อน

๕๗๗.
หยดน้ำที่หยาดลงทีละหยด ย่อมเต็มตุ่มฉันใด คนโง่ที่ทำบาปทีละน้อยอยู่เป็นนิตย์ ย่อมเป็นคนบาปหนาฉันน้ัน

๕๗๘.
ผู้กล่าวเท็จ ล่วงธรรมะคือความสัตย์ ไม่ทำบาปอื่นอีกเป็นไม่มี

๕๗๙.
บาปที่ทำย่อมเกิดกรรมชั่ว บาปย่อมเผาลนคนโง่ เหมือนไฟสุมขอนฉันนั้น

๕๘๐.
ยาพิษเข้ามือที่ไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปที่ไม่เกิดแก่ผู้ไม่ทำบาปก็ฉันนั้น


วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พุทธภาษิต ๙๑๙ บท (ชดที่ ๒๙)


๕๕๖.
ผู้ใดใฝ่หาสุขสำหรับตน ด้วยการก่อทุกข์ให้ผู้อื่น 
เรียกว่าติดข้องอยู่ในกองเวร ย่อมหนีไม่พ้นเวร

๕๕๗.
แม้ฐานะดีแต่เกียจคร้านก็ต้องล่มจม 
เหมือนเกาะท่อนไม้เล็กๆอยู่กลางทะเลก็ต้องจมลงฉันน้ัน

๕๕๘.
พระอาทิตย์ พระจันทร์ กาลเวลาและมหาสมุทรมกำลัง
สมณพราหมณ์ก็มีกำลัง  แต่กำลังของสตรีมีมากกว่านั้น

๕๕๙.
พระพุทธเจ้าย่อมบังเกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก 
คือบุรุษและสตรีผู้ทำตามคำสั่งสอน

๕๖๐.
ที่ใดคนยังไม่รู้จักชาติตระกูลระเบียบประเพณี
ก็ไม่ควรถือตัว ควรทำตัวเหมือนญาติ

๕๖๑.
ผู้ใดทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
จะไปได้รอดปลอดภัย เหมือนพ่อค้าขี่ม้าไ ปโดยสวัสดี

๕๖๒.
ผู้ใดนอบน้อมผู้เจริญด้วยคุณวุฒิ
มีปัญญาฉลาดในธรรม ย่อมมีผู้สรรเสริญในโลกนี้
และมีสุคติในโลกหน้า

๕๖๓.
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์รักใคร่ เป็นอามิสอันร้ายกาจของชาวโลก เป็นเหตุให้ชาวโลกลุ่มหลงอยู่

๕๖๔.
แม้มีปัญญารุ่งโรจน์เหมือนแสงไฟ  ถ้าอยู่ในต่างถิ่น ก็ควรอดทนต่อคำขู่เข็ญของคนถ่อย

๕๖๕.
บุรุษผู้สดับปัญญาน้อยย่อมเสื่อมทรามไป 
เหมือนโคถึกมีเนื้อมาก แต่ปัญญาหาเจริญไม่

๕๖๖.
ถึงไร้ทรัพย์ผู้มีปัญญาก็ยังดำรงชีพอยู่ได้
ถ้าไม่มีปัญญาถึงมีทรัพย์ก็ดำรงชีพอยุ่ได้ยาก

๕๖๗.
ผู้มีปัญญา มีความรู้ ฉลาดในการงาน รู้กาล รู้สมัย 
ควรอยู่ในวงราชการได้

๕๖๘.
ท่านว่าปัญญาประเสริฐเหมือนดวงจันทร์เด่นอยู่ในหมู่ดาว แม้ศีลธรรมและคุณงามความดี ก็เป็นเช่นดวงดาวดาราห้อมล้อมดวงปัญญาของคนดีฉันนั้น 

๕๖๙.
ถ้าเล็งเห็นความสุขอันไพศาล  เพราะการเสียสละสุขสถานประมาณ  ผู้มีปัญญาย่อมสละสุขสถานประมาณเสียเพื่อความสุขอันไพศาลน้ัน 

๕๗๐.
คนปัญญาทราม มียศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมกระทำการที่เบียดเบียนตนและคนอื่น